10 เทคนิคทำ Big data analysis ให้ปัง (ตอนจบ)

 In Digital Marketing, How to, Startups & SME

ในตอนที่แล้วเราพูดถึง 10 เทคนิคทำ Big Data analysis ให้ปังกันไปแล้ว 5 เทคนิค ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงอีก 5 เทคนิคที่เหลือที่รับรองความปังเหมือนเดิม

6. อย่ายึดติดแต่กับแนวทางเดิมๆ

จากมุมมองของผู้จัดการและเจ้าของกิจการหลายๆคนการมีอินเทิร์นที่เป็นเนิร์ดด้านเทคโนโลยีดูจะเป็นแนวทางที่ดีแนวทางหนึ่งในการทำให้มาซึ่งกระบวนการการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีคุณภาพ แต่หากคุณได้พูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์เยอะๆในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล คุณจะได้คำตอบคนละขั้วกับด้านบน พวกเขาจะแนะนำให้คุณใช้คนที่มีประสบการณ์มากที่สุดในทีมในการทำงาน แต่สิ่งที่ตลกก็คือคนที่มีประสบการณ์ที่สุดและเหมาะสมที่สุดมักจะเป็นคนที่มีงานเยอะที่สุดจนล้นมือแล้วไม่มีเวลาทำ (แบบนี้ก็ได้หรอ?)

ดังนั้นแม้จะเป็นน้องใหม่ อินเทิร์น จูเนียร์ หรือใครก็ตามแต่หากมีแววที่จะสามารถทำงานตรงนี้ ก็จงให้โอกาสพวกเขาในการเติบโตและเก็บเกี่ยวประสบการณ์

7. สละเวลาในการดูแลรักษาข้อมูล(อาจจะ)ไร้สาระบ้าง

ไอเดียนี้อาจจะฟังดูไร้สาระเล็กๆ แต่ในความไร้สาระนั้นคุณอาจจะได้บางสิ่งบางอย่างกลับมา บางครั้งคุณก็น่าจะลองเสียเวลาดูข้อมูลที่ดูเหมือนจะไร้สาระบ้าง อย่างเช่น จัดเรียงเวลาที่ขายสินค้าได้ตามสลิป วิเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์ ดูรายละเอียดข้อมูลที่มีการส่งต่อมาจาก third-party เป็นต้น
คุณไม่มีทางรู้หรอกว่าคุณจะเจอกับข้อมูลแบบไหน ในบางครั้งข้อมูลที่มีค่าก็อาจจะได้มาจากแหล่งที่ไม่น่าเป้นไปได้

8. คลังข้อมูลภายในก็เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ

บางครั้งการมัวแต่ไปหาข้อมูลจากแหล่งอื่นก็ไม่ได้การันตีความสำเร็จเสมอไป เพราะในหลายๆครั้งคลังข้อมูลภายในก็อาจจะมีสิ่งที่คุณกำลังมองหาอยู่ก่อนแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำก็แค่เก็บข้อมูลให้เป็นที่เป็นทางให้ง่ายต่อการค้นหา และไม่เก็บไว้เรี่ยราดจนถูกกดลบทิ้งโดยบังเอิญ

9. สร้างไลบรารี่สำหรับแหล่งข้อมูลภายนอก

นอกจากแหล่งข้อมูลภายในแล้ว แหล่งข้อมูลภายนอกก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งข้อมูลดิบที่คุณจะได้แวะเวียนไปใช้บริการบ่อยๆ และแน่นอนว่าแหล่งข้อมูลภายนอกคงไม่ได้มีเพียงแค่แหล่งเดียวดังนั้นการทำไลบรารี่หรือจัดหมวดแหล่งข้อมูลก็ดูเป็นไอเดียที่ดีไม่น้อย เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาแล้ว ยังช่วยให้คุณจัดระเบียบงบประมาณ (ไม่เผลอไปกดค้นหาข้อมูล) ในกรณีที่เป็นแหล่งข้อมูลแบบเสียเงินได้อีกด้วย

10. ปกป้องแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์

เพราะแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์มีค่าแบบประเมินไม่ได้ ดังนั้นคุณจึงต้องปกป้องและเก็บรักษาเอาไว้ให้ดีๆ ซึ่งแน่นอนว่านั้นหมายถึงคุณต้องการที่เก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัยและควรจะมีการแบ็คอัพข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ไม่เพียงเท่านั้นการป้องกันแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ยังหมายถึงคุณต้องทำให้แน่ใจว่าข้อมูลนั้นจะยังคงเนื้อหาที่เป็นประโยชน์เอาไว้

Cr. dummies.com, fi.ge.pgstatic.net, interex.com, adweek.com, cloudfront.net, sites.lib.byu.edu, glneurotech.com

Recommended Posts