8 เหตุผลที่จะช่วยให้บทความของคุณเป็นผู้รอดชีวิตในสงคราม Content!
กด Publish บทความปุ๊บ ก็ไหลหายไปกับไทม์ไลน์ปั๊บ ทั้งๆที่เขียนตั้งนาน? เซ็งอย่างบอกไม่ถูก วันนี้เราจะมาบอกคุณว่าเพราะอะไรบทความของคุณยอดวิวถึงไม่ขยับ
บทควาามคุณภาพคือส่วนสำคัญในการสร้างเว็บไซต์ แต่ในยุคที่บทความผุดขึ้นมาเยอะยิ่งกว่าดอกเห็ดในหน้าฝน บทความที่สตรองเท่านั้นถึงจะอยู่รอด มาดูเหตุผลแห่งความอยู่รอดที่จะทำให้บทความของคุณเป็นผู้รอดชีวิตกันดีกว่า
#1 – บทความไม่ตรงใจคนอ่าน
ข้อนี้เป็นเรื่องน่าเศร้ามาก เพราะไม่ว่าคุณจะทุ่มเทและให้เวลากับบทความนั้นๆขนาดไหน หากไม่อยู่ในความสนใจของคนอ่าน พูดง่ายๆคือไม่ใช่เรื่องที่คนอ่านสนใจ บทความของคุณก็อาจจะปิ๋วได้ตั้งแต่วินาทีที่กด Publish ดังนั้นการติดตามเทรนด์ ดูกระแสโลกคือสิ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม
#2 – บทความไร้ซึ่งเอกลักษณ์
บางบทความอาจไม่ได้มีเนื้อหาที่แปลกหรือล้ำหน้า แต่กลับได้ความนิยมอย่างท่วมท้น สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้มันเ็นนั้นก็คือเอกลักษณ์และจุดเด่นในการนำเสนอ หากการนำเสนอของคุณมีเอกลักษณ์และเป็นตัวของตัวเองมากพอจนถูกจริตของคนอ่าน เชื่อเถอะว่าไม่ว่าเรื่องที่คุณนำเสนอจะหมู หา กา ไก่ ขนาดไหนมันก็จะอยู่รอดและเป็นผู้รอดชีวิตที่คนอ่านให้ความสนใจท่ามกลางสมรภูมิบทความนับล้านแน่นอน
#3 – เหยย เข้าใจยากไปรึเปล่า?
หากบทความของคุณอ่านแล้วรู้สึกแบบนี้ล่ะก็ นั้นคือสัญญาณอันตรายแล้วล่ะค่ะ เพราะนั้นหมายว่าคนอ่านก็คงจะไม่เข้าใจหรือต้องใช้ความพยายามในการเข้าใจแน่นอน ซึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีนักในโลกออนไลน์ที่คนอ่านสามารถหาบทความจากที่อื่นที่เข้าใจได้ง่ายกว่าได้ง่ายๆแค่เข้า Google และนั้นหมายถึงบทความของคุณจะถูกลืมและเสียคนอ่านคนนั้นไป (เพราะหนีไปอ่านที่อื่นเข้าใใจง่ายกว่า)
#4 – เต็มไปด้วยคำศัพท์เฉพาะทางม๊ากมาก
หากเว็บไซต์หรือบล็อคของคุณเต็มไปด้วยศัพท์เทคนิคที่ต้องใช้แต้มบุญสูงมากในการเข้าใจ จนดูเหมือนไม่ได้ถูกเขียนด้วยมนุษย์นั้นไม่ใช่สิ่งดี เพราะมันจะขับไล่คนอ่านไปให้ไกลตั้งแต่ยังไม่ทันอ่านจบประโยคแรก สิ่งที่เข้าถึงคนอ่านไม่ใช่อะไรที่ลึกมากจนยากจะเข้าใจ แต่เป็นคำใกล้ตัวและเข้าใจได้ง่าย พบเห็นได้บ่อยๆ คนอ่านถึงจะมีอารมณ์ร่วมและชวนให้เกิดความรู้สึกอยากติดตาม
#5 – ไม่ปรากฏตัวในโลกโซเชี่ยลเลย
อย่าทำตัวเป็นนางอายอยู่ในมุมมืดค่ะ ไปค่ะ…ออกไปปรากฎตัวในที่สาธารณะอย่างสื่อโซเชี่ยลบ้าง เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของโอกาสที่คนอ่านจะค้นหาบทความของคุณเจอ – ท่ามกลางบทความนับล้าน – จะเป็นไปได้ค่อนข้างยากแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่คุณไม่ควรมองข้ามคือ คนอ่านมักให้ความเชื่อถือกับบทความที่ถูกส่งมาโดยเพื่อนๆมากกว่าที่บังเอิญไปค้นเจอ (นอกซะจากอันดับการค้นหาของคุณจะอยู่หน้าแรกของ Google)
#6 – สั้นเกินไปจนไม่เข้าใจอะไรเลย
คุณต้องคิดไว้เสมอว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรให้กับคนอ่าน หากไอเดียนั้นยังไม่ถูกสื่อออกไปนั้นคือบทความนั้นไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้อย่างครบถ้วน ในทางกลับกันหากบทความของคุณสั้นจนไม่สามารถจับต้องอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้เลยและไม่ลงลึกถึงเนื้อหาใดๆ บทความนั้นคงถึงคราวที่ต้องบอกลาคนอ่าน และอาจส่งผลมาถึงคนเขียนที่อาจไม่ได้รับความเชื่อถืออีกต่อไป
#7 – ห่างหายจากการเขียนไปนาน
หากคุณไม่ได้เขียนเป็นประจำ การจะรักษารูปแบบการเขียนหรือมาตรฐานคงเป็นอะไรที่ต้องเหนื่อยหน่อย และเชื่อหรือไม่ว่าคอ่านสัมผัสได้ถึงความแตกต่างนั้น มันคงไม่เป็นไรหสกคุณรื้อฟื้นสไตล์การเขียนให้กลับมาได้อย่างรวดเร็ว แต่มันจะเป็นเรื่องยากที่จะรักษาคนอ่านไว้ขึ้นมาทันทีหากคุณไม่สามารถกลับมาท็อปฟอร์มแบบเดิมได้ทัน บทความหลังๆจะกลายเป็นบทความที่ถูกลืมไปโดยปริยาย
#8 – จดจ่ออยู่กับการทำ SEO มากเกินไป
บางครั้งก็ต้องปล่อยให้งานเขียนให้มันไหลไปตามธรรมชาติบ้างนะคะคุณขา อย่าไปปรับแต่งมันมากเกินไป และยึดเอา SEO เป็นศูนย์กลางของจักรวาลการเขียนไปซะทั้งหมด เพราะบทความที่พยายามจะแต่งให้เข้ากับคำค้นหามันอาจจะขาดเสน่ห์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ และผลที่ตามมามันอาจจะร้ายกาจได้อย่างไม่น่าเขื่อ อย่างการที่ยอดวิวตกต่ำแม้จะได้คะแนน SEO สูงเสียดฟ้าก็ตาม ยังไม่รวมถึงว่าคำค้นหาที่เอามา SEO นั้น อาจจะไม่ได้อยู่ในกระแสอีกต่อไปแล้วก็ได้ (กลายเป็นเขียนเสียเปล่าไปอีกก)
ทั้งนี้ทั้นนั้นหัวใจสำคัญของการเขียนบทความมันก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการสื่อสารให้คนอ่านเข้าใจ อ่านแล้วได้รับถึงสิ่งที่เราต้องการนำเสนอหรอกค่ะ สีดาคิดว่าหากงานเขียนนั้นเขียนขึ้นมาด้วยความตั้งใจยังไงมันก็จะต้องไม่หายไปไหนแน่นอนค่ะ
Cr. josecotera.flipboard, crowdcontent.com, blog.slideshare.net
สามารถติดตามเรื่องราวมาร์เก็ตติ้งโดนๆหรือข่าวสารความเคลื่อนไหวของ เราได้ทั้ง facebook และ twitter