โรคซึมเศร้า กับความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพและอารมณ์

 In Lifestyle

เพราะว่ามนุษย์ไม่สามารถอยู่โดยลำพัง ปราศจากการมีปติสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ เพราะมนุษย์ไม่ใช่สิ่งที่ไร้ความคิด ไร้หัวใจ หรือไร้ความรู้สึก มนุษย์จึงจำเป็นอาจจะต้องมีใครสักคนที่เข้ามาเติมเต็มความรู้สึกที่ถูกกัดกร่อนให้เจ็บปวดจากการใช้ชีวิต บ้างก็เข้มแข็งจนปกปิดความรู้สึกแท้จริงไว้ภายใน บ้างก็อ่อนแอจนไม่อาจเก็บความรู้สึกเหล่านั้นไว้ได้จนก่อให้เกิด ภาวะซึมเศร้า หรือ โรคซึมเศร้า

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ที่อาจนำไปสู่ โรคซึมเศร้า

การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิด โรคซึมเศร้า อาจเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปหรือเกิดขึ้นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์เลยก็ได้ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เคยประสบมาก่อน จนทำให้ความคิดและบุคคลิกของผู้นั้นเปลี่ยนแปลงไป โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้

ด้านอารมณ์ ที่พบส่วนใหญ่คือจะกลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่หรือสะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อยกับเรื่องเล็กน้อย บางคนอาจไม่ได้มีอารมณ์เศร้าชัดเจน แต่สามารถสังเกตได้จากสีหน้า ท่าทางที่ไม่สดใส ร่าเริงเหมือนเคย บางคนอาจจะรู้สึกเบื่อหน่ายกับทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวไปหมด อะไรที่ทำแล้วชอบและสนใจก็กลับกลายเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหนายหรือหมดความสนไปหมด

ด้านความคิด สมาธิและความจำแย่ลง หลงลืมง่าย มองอะไรก็รู้สึกแย่ไปหมด มองเห็นแต่ข้อผิดพลาดของตัวเอง ชีวิตมีแต่เรื่องแย่ๆ คิดว่าตัวเองไร้ค่าและเป็นภาระสำหรับผู้อื่น รู้สึกเศร้าหรือหมดหวังกับเรื่องต่าง ๆ อย่างง่ายดาย หาทางออกให้กับตนเองไม่ได้ จนนำไปสู่การมีแนวโน้มความคิดการฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้ง

ด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริงเหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น พูดคุยกับผู้อื่นน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด บางคนอาจจะกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างมักจะไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเปลี่ยนไปจากเดิม

โรคซึมเศร้า

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคซึมเศร้า หรือเปล่า

บางคนที่อ่านถึงตอนนี้อาจจะรู้สึกว่าตนเองเป็น โรคซึมเศร้า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นหรือเปล่า

อาการซึมเศร้านั้นมีหลายระดับ ตั้งแต่เล็กน้อยที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันไปจนถึงการส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า (Patient Health Questionnaire; PHQ9) เป็นแบบสอบถามเบื้องต้นที่ช่วยในการประเมินว่าผู้ตอบมีภาวะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ รุนแรงมากน้อยเพียงใด

แบบสอบถามภาวะอารมณ์ซึมเศร้า : แบบทดสอบคลิก

 

ติดตามบทความสาระดีๆ และข้อมูลอัปเดตก่อนใครจาก Digitalmarketing wow ได้ที่ Facebook และ Line @marketingwow

ที่มาบางส่วนจาก [1]

Recent Posts