CPTPP คือ อะไร ทำไมคนไทยถึงไม่ควรมองข้าม
CPTPP คือ อีกประเด็นหนึ่งที่คนไทยไม่ควรมองข้ามในตอนนี้ หลังจากเกิดกระแส #คัดค้านCPTPP #NOCPTPP และ #ไม่เอาCPTPP และคิดว่าน่าจะเป็นประเด็นร้อนไปอีกระยะ เพราะได้มีการถกเถียงกันถึงข้อดีและข้อเสียของการเข้าร่วมในครั้งนี้ และมีความกังวลว่าหากเข้าร่วมแล้ว ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นจะเป็นไปอย่างไร
CPTPP คือ อะไร?
หลาย ๆ คนยังคงสงสัยเกี่ยวกับ CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership) คือ ข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยจะครอบคลุมทั้งเรื่องการค้า การบริการและการลงทุน ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมในตอนนี้ทั้งหมด 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลยเซีย บรูไน และเวียดนาม
ซึ่งหลายท่านก็มองถึงทั้งข้อดีและข้อเสียของการเข้าร่วมในครั้งนี้ เพราะถ้าหากเข้าร่วม การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศไทยก็จะเปลี่ยนไปในทันที ซึ่งข้อดีและข้อเสียของการเข้าร่วมมีดังนี้
ข้อดีของCPTPP
- ทำให้การส่งออกของประเทศไทยนั้นดีมากขึ้นในประเทศที่เป็นสมาชิกที่เข้าร่วมCPTPP โดยเฉพาะในแคนาดาและเม็กซิโก ซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้ทำการค้าแบบเสรีด้วย
- ยกระดับการค้าและการลงทุนในประเทศไทย
- สร้างบรรยากาศที่ดีในการค้าให้กับประเทศไทย
- รักษาขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก
- หากเข้าร่วม ค่า GDP ของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นถึง 0.12%
ข้อเสียของCPTPP
- มีการเปลี่ยนแปลงของพรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช
- นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น
- เกษตรกรต้องเสียเงินค่าพันธุ์พืชให้กับบริษัทข้ามชาติที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์พันธุ์พืชนั้น ๆ
- เกษตรกรไม่สามารถเก็บพันธุ์พืชไว้ปลูกในปีต่อไปได้
- สิทธิประโยชน์แก่องค์กรเภสัชกรรมในการจัดซื้อยาให้แก่ภาครัฐจะถูกยกเลิก
- ราคาของค่ารักษาพยาบาลจะสูงขึ้น เนื่องจากราคายาที่แพงขึ้น
- เงื่อนไขการเจรจาแบบ Negative list ทำให้ธุรกิจภายในประเทศเสียประโยชน์ให้กับการลงทุนต่างชาติ
ในอนาคตไม่อาจคาดเดาได้ ว่าประเทศไทยจะทำการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับCPTPPหรือไม่ แต่ประเทศไทยก็จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาจจะต้องปรับเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงที่สุด แต่เกิดผลกระทบน้อยที่สุด เพราะถ้าหากเข้าร่วมเมื่อไหร่ ก็อาจส่งผลกระทบกับหลาย ๆ ภาคส่วนในทันที