ก่อนโฆษณาใน Facebook ต้องรู้ ทำความรู้จักกับ Placement ใน Facebook คืออะไร

 In Digital Marketing, Facebook, How to

Placement ใน Facebook คืออะไร ต้องบอกก่อนว่า การโฆษณาบน Facebook เราไม่ได้ส่งโฆษณาบน Facebook เท่านั้น แต่ยังสามารถโฆษณาลงในแพลตฟอร์มเครือข่ายอื่นๆ ของเฟซบุ๊กได้อีกด้วย

Placement คือสถานที่ที่โฆษณาของเราจะไปปรากฏนั่นเอง ซึ่งในแต่ละ Placement นั้น ประสิทธิภาพและจุดมุ่งหมายของโฆษณาแตกต่างกัน โดย เครื่องมือที่สำคัญคือ Ads Manager หรือ Power Editor ซึ่งเครื่องมือทั้งสองอย่างนี้คือเครื่องมือจัดการโฆษณาของ Facebook เปรียบได้กับหลังบ้าน ซึ่งเหล่า Digital Marketer ควรเรียนรู้ไว้  ซึ่งเราสามารถตั้งค่า Placement ได้ในส่วนของ Ad Set ให้เลือกที่ Edit เลื่อนมาที่ Placement จะมีหัวข้อ 2 หัวย่อยด้วยกัน

  • Automatic Placement
  • Edit Placement

มักจะพบว่าการตั้งค่า Default ของ Facebook นั้น จะแนะนำให้เป็น Automatic Placement ซึ่งถ้าเราเป็นคนที่ไม่คิดมาก ให้ Facebook เลือกให้ก็ไม่ผิด แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราเลือกแล้วทำให้เกิดประสิทธิภาพของการโฆษณาได้ดีที่สุด ควรจะเลือกเป็น Edit Placement เมื่อเลือกในส่วนนี้แล้วมีตัวเลือกอื่นเพิ่มขึ้นมาอย่างเช่น

Device Types

Placement ใน Facebook

อุปกรณ์ที่เราต้องการให้โชว์โฆษณาของเรา ว่าจะให้โชว์บนมือถือเท่านั้น (Mobile Only) หรือเฉพาะบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (Desktop Only) ถึงแม้ว่าในยุคปัจจุบันมือถือสมาร์ตโฟนครองเมือง หลายเปว็บไซต์ก็ปรับตัวเป็น Mobile First แต่คนที่ใช้งาน Desktop ยังอยู่ และยังมีความสำคัญ แนะนำว่าให้เลือกเป็น All Devices จะดีที่สุด

Placement ใน Facebook สำหรับ Ad Manager / Power Editor แบ่งได้ออกเป็น 4 แพลตฟอร์ม

Placement ใน Facebook

  • Facebook
  • Instagram
  • Audience Network
  • Messenger

เริ่มจากแพลตฟอร์มแรกคือ Placement ใน Facebook จะแบ่งแยกย่อยออกเป็น 4 ส่วน ด้วยกันคือ

Placement ใน Facebook

Feeds
คือโฆษณาที่จะปรากฏในหน้าของฟีดทั่วไปนั่นเอง โฆษณาบนแพลตฟอร์มนี้นิยมเป็นอย่างมาก เพราะรองรับสื่อได้หลายรูปแบบทั้งข้อความ รูปภาพ วิดีโอ รวมไปถึงวัตถุประสงค์ของโฆษณาหลักๆ ก็จำเป็นต้องใช้ผ่าน Feeds เช่น Traffic, Lead Generation, Page Likes ฯลฯ

Instant Article
สำหรับโฆษณาในส่วนนี้จะแทรกอยู่ในบทความต่างๆ ที่ใช้ระบบ Instant Article รองรับสื่อได้หลายรูปแบบ

Right Column
จะปรากฏเฉพาะใน Desktop เท่านั้น อยู่ในตำแหน่งด้านขวามือ ส่วนบนมือถือจะไม่มีส่วนนี้

In-Stream Videos
เป็นโฆษณาที่โผล่มาคั่นในขณะที่กำลังดูวิดีโอ ไม่สามารถกดข้ามได้ ระยะเวลาสูงสุดสำหรับโฆษณาด้วยวิดีโอคือ 15 วินาที สามารถโฆษณาด้วยรูปภาพเดี่ยวได้เช่นกัน ถ้าใช้สื่อวิดีโอเกิน 15 วินาที จะไม่สามารถเลือก Placement Facebook In-Stream Videos ได้

Suggested Videos
ในหน้า Feed สำหรับวิดีโอโดยเฉพาะ จะมีการแทรกวิดีโอในหน้า Feed ซึ่งจะทำให้เฉพาะสื่อที่เป็นวิดีโอเท่านั้น

สรุปโดยรวม Facebook เหมาะกับการทำสื่อโฆษณาได้หลากหลายรูปแบบทั้งรูปภาพ วิดีโอไวรัล เพราะง่ายต่อการแชร์ อีกทั้งตัวแพลตฟอร์มเหมาะกับการขายสินค้าเป็นอย่างมาก มีระบบ Shop รองรับ การติดต่อสื่อสารทำได้โดยง่ายผ่านแอพแชตอย่าง Messenger

ในส่วนของ Instagram นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยๆ ด้วยกันคือ

Placement ใน Facebook

Feed
คือในหน้าไทม์ไลน์นั่นเอง ได้ทั้งโฆษณาทั้งแบบรูปเดียว หรือหลายรูปก็ได้ รวมไปถึงวิดีโอ แต่วิดีโอต้องมีความยาวรวมไม่เกิน 1 นาที ถึงจะโฆษณาบน Feed ของ Instagram ได้

Stories
โฆษณาจะโชว์บน Stories ของ Instagram ซึ่งสื่อที่เหมาะที่สุดคงจะหนีไม่พ้นรูปภาพและวิดีโอที่มีลักษณะเป็นแนวตั้ง เพื่อให้เข้ากับจอมือถือนั่นเอง

โดยรวม Instagram เหมาะสำหรับโฆษณาที่เน้นภาพและวิดีโอเป็นหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนหน้าร้านที่ไว้โชว์สินค้าและบริการ แต่อาจไม่เหมาะกับการขายสินค้าโดยตรง ถึงแม้จะแชตผ่าน Direct ได้ก็ตาม แต่ระบบสนับสนุนร้านค้าของ Instagram นั้นไม่โดดเด่นและสะดวกสบายเหมือน Facebook

Audience Network

Placement ใน Facebook

Audience Network มีความคล้ายคลึงกับ Google AdSense เพียงแต่เป็นเครือข่ายของ Facebook แทนที่จะเป็นของ Google ใช้ได้ทั้งเว็บไซต์และแอพพลิเคชัน แบ่งการโฆษณาได้ออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ

Native, Banner and Interstitial
เป็นโฆษณาคล้ายกับแบนเนอร์ในเว็บไซต์ทั่วไป มีความคล้ายคลึงกับเนื้อหาในเว็บไซต์

In-Stream Videos
เป็นโฆษณาแทรกในคลิปวิดีโอ หลักการคล้ายกับโฆษณา In-Stream Videos บน Facebook

Rewarded Videos
โฆษณาจะปรากฏเมื่ออยู่ท้ายคลิป หรือปิดแอพหรือเว็บไซต์

ส่วนมากแล้ว Audience Network มักจะพบในแอพพลิเคชั่น รวมไปถึงเว็บไซต์ที่เป็น Partner กับ Facebook สามารถใช้สื่อได้หลายอย่าง ทั้งรูป วิดีโอ และการติดตั้งแอพพลิเคชัน

Messenger แบ่งออกเป็น 2 ส่วนเช่นเดียวกัน

Placement ใน Facebook

Home
โฆษณาจะแสดงผลในหน้า Home ของแอพพลิเคชัน Messenger ซึ่งค่อนข้างคล้ายกับบนหน้า Feed ของ Instagram และ Facebook

Sponsored Message
เป็นการส่งโฆษณาโดยตรง มีแจ้งเตือนคล้ายกับมีคนแชตผ่าน Messenger แต่การใช้งานต้องระมัดระวัง อาจก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้รับชมโฆษณาได้ (ส่วนตัวผู้เขียนเคยลงโฆษณาด้วย Sponsored Message แล้วได้รับ Feedback ในแง่ลบกลับมา เป็นจำนวนพอสมควร)

บน Messenger อาจช่วยเพิ่มยอดขายหรือสั่งซื้อได้ดี แต่ก็มีสิทธิ์โดนตำหนิในเรื่องโฆษณาที่รุกรานมากจนเกินไป

สุดท้าย แต่ยังไม่ท้ายสุดกับ Specific Mobile Devices & Operating Systems

Placement ใน Facebook

เป็นวิธีการเลือก Placement โดยเลือกตามระบบปฏิบัติการ และรุ่นแบรนด์มือถือ ซึ่งเราสามารถเลือกได้ตามความต้องการเหมาะกับใคร และโฆษณาแบบไหน

  • โปรโมตให้ติดตั้งแอพพลิเคชัน แสดงเฉพาะระบบปฏิบัติการที่เราต้องการ แถมยังเลือกเวอร์ชันได้อีก ถ้าแอพพลิเคชันรองรับตั้งแต่เวอร์ชันไหนก็เลือกได้
  • ขายเคสมือถือ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับมือถือโดยตรง เพราะระบุรุ่นได้ มีเคสขายรุ่นไหน หรือแบรนด์ไหนเป้นพิเศษ
  • เครือข่ายการให้บริการสำหรับมือถือ

จบกันไปแล้วสำหรับเรื่อง Placement ในเครือข่ายของ Facebook ว่ามีกี่ประเภท ทำให้สามารถตัดสินใจได้ว่า สื่อแบบไหนถึงจะเหมาะ จะลงโฆษณาที่ไหนถึงจะดีที่สุด

[embedit snippet=”cta1″]

ติดตามบทความและสาระดีๆ จาก Digitalmarketing Wow พร้อมเสิร์ฟถึงมือคุณได้ที่ FacebookTwitter และ Line @marketingwow

ที่มา [1]

Recommended Posts