Year in Search: Insights for Brand 2020 พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย

 In Google, Update

ในปี 2020 ที่ผ่านมา สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ต้องประชาชนรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยนั้นเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ซึ่ง Google ได้จัดทำรายงาน Year in Search: Insight for Brand 2020 โดยวิเคราะห์ พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย ไว้ดังนี้

5 เทรนด์ พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย จาก Google

การเป็นปัจเจกบุคคล

พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย

การที่เกิดโรคระบาดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้ทุกคนมองเห็นความแตกต่างกันทางสังคมได้อย่างชัดเจน ทั้งความต้องการ นิสัย ความเชื่อ รวมถึงปัจจัยทางด้านการเงินของหลาย ๆ คน ซึ่ง พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย ที่เห็นได้ชัดในตอนนี้ คือการบูลลี่ ซึ่งมีการค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับการบูลลี่เพิ่มขึ้น 70% โดยยอดการค้นหาต่อคนสูงสุดอยู่ที่ อำนาจเจริญ แพร่และสิงห์บุรี

ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่เปิดกว้างและเรียนรู้เรื่องความเป็นธรรมในสังคมมากขึ้น การค้นหาเรื่องเกี่ยวกับ LGBT เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากถึง 39% การค้นความความเท่าเทียม เพิ่มขึ้น 21% และการสมรสเท่าเทียมเพิ่มขึ้นอีก 42% นอกจากนี้ เรื่องของสุขภาพจิตได้รับความสนใจและยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง เรื่องของโรคซึมเศร้า ถูกค้นหาเพิ่มขึ้น 37%  คำที่ใช้ค้นหาเกี่ยวกับด้านนี้คือ “ซึมเศร้า อาการ”, “ทดสอบ ซึมเศร้า”, “รักษา โรคซึมเศร้า”

สิ่งที่แบรนด์ควรเรียนรู้จากเทรนด์นี้ คือ

  1. พิจารณาเส้นทางเฉพาะบุคคลของผู้บริโภคแต่ละราย
  2. สร้างการเข้าถึงให้ครอบคลุมและทำตามคำมั่นสัญญา
  3. น้ำเสียงและจังหวะเวลาที่เหมาะสมคือสิ่งสำคัญ อย่าชิงพูด เรื่องต้องห้ามไวเกินไป (เพราะอาจกลายเป็นการออกตัวแรง) แต่ให้แสดงการสนับสนุนด้วยการสร้างสัมพันธ์เมื่อผู้ชมพร้อม
  4. ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงผู้ชมกลุ่มใหญ่ที่มีความต้องการเฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

เป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น

พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย

การแพร่ระบาดของไวรัสทำให้คนเรานึกถึงคนอื่นมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวเอง คนไทยหันมามองถึงผลกระทบที่ตัวเองได้สร้างกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การค้นหาเกี่ยวกับหน้ากากผ้า เพิ่มขึ้น 65% เมื่อเทียบกับคำว่าหน้ากาก และกระทงรีไซเคิลก็เพิ่มขึ้น 50% การค้นหาเกี่ยวกับขวดพลาสติกก็มากที่สุดในหมวดหมู่นี้เช่นกัน ซึ่งคำเหล่านั้นก็คือ “สิ่งประดิษฐ์จากขวดพลาสติก”, “ปลูกผักในขวดพลาสติก”, “ดอกไม้จากขวดพลาสติก”

เทรนด์นี้ไม่เพียงเน้นไปเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเท่านั้น แต่เชื่อมโยงคุณค่ากับผู้บริโภคด้วย และทุกแบรนด์ก็พร้อมที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

สิ่งที่แบรนด์ควรเรียนรู้จากเทรนด์นี้ คือ

  1. สร้างสรรค์วิธีใหม่เพื่อให้ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงเข้าถึงกัน
  2. เผยค่านิยมทางธุรกิจและแนวทางปฏิบัติภายในผ่านการสร้างแบรนด์ภายนอก
  3. เข้าถึงผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าในชุมชนใกล้เคียง

ตัวตนในทุกแง่มุม

พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย

สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ใช่เรื่องแปลก มองในแง่ดีอาจทำให้เรารู้จักตัวตนของเรามากขึ้น การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้คนไทยได้พบพฤติกรรมใหม่ ๆ ของตัวเอง กิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนไป มองหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเวลาและให้ความสำคัญกับที่จะเกิดประสิทธิผลมากขึ้น

มีการค้นหาเกี่ยวกับการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 25% การค้นหาเก้าอี้ทำงานเพิ่มขึ้นอีก 34% เพราะมีผู้ที่ทำงานที่บ้านมากขึ้น ความเร็วอินเทอร์เน็ตหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ พร้อมทั้งการค้นหาบน Youtube ในเรื่องของโซลูชันประชุมทางวิดีโอ ก็เพิ่มขึ้นอีก 1.5 เท่า

ผู้บริโภคมองหาสิ่งที่ทำให้การรักษาความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจและกำลังใจ พร้อมทั้งวิธีการดูแลตัวเอง อย่างเช่น การค้นหาเกี่ยวกับเซรั่ม เพิ่มขึ้น 37%, การค้นหาโยคะ บน Youtube เพิ่มขึ้น 60% และการค้นหาที่เกี่ยวกับการสวดมนต์ เป็นต้น ผู้บริโภคมักเอาตัวตนของตัวเองเข้าหาแบรนด์มากกว่าการเน้นด้านใดด้านนึง ดังนั้นแบรนด์ควรหาสิ่งที่เข้าถึงผู้บริโภคเพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจมากขึ้น

สิ่งที่แบรนด์ควรรู้จากเทรนด์นี้ คือ

  1. พูดภาษาเดียวกับลูกค้า
  2. ทบทวนธุรกิจของคุณและท้าทายการทำธุรกิจแบบเดิม ซึ่งอาจทำให้คุณค้นพบโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ
  3. เข้าไปอยู่ในโลกของลูกค้า ปรับผลิตภัณฑ์ทางธุรกิจและการตลาดของคุณให้เหมาะกับชีวิตและความต้องการของผู้บริโภค ไม่ว่าจะผ่านทางกลยุทธ์การสื่อสารหรือฟีเจอร์ของสินค้า

แสวงหาความสุข

พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย

อีเว้นต์ คอนเสิร์ต รวมถึงเทศกาลต่าง ๆ ที่ควรถูกจัดก็ถูกยกเลิก แต่คนไทยก็ยังไม่ล้มเลิกการแสวงหาความสุขหรือการพักผ่อนหย่อนใจ แม้จะอยู่ที่บ้านก็ตาม ดังนั้นพฤติกรรมการบริโภคสื่อนั้นจึงมีมากขึ้น คนไทยใช้เวลาอยู่กับโลกออนไลน์ที่ไม่ใช่เวลาทำงานโดยเฉลี่ย 4.6 ชั่วโมงต่อวัน (ช่วงเวลาล็อกดาวน์) เวลาในการรับชมหนังตลกบน Youtube ก็เพิ่มขึ้น 90% และการค้นหาเก้าอี้เกมมิ่ง เพิ่มขึ้น 125%

สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการหากิจกรรมหรือสิ่งที่ทำให้พักผ่อนจิตใจในรูปแบบใหม่ ๆ ได้ ทั้ง การทำอาหาร, การปลูกต้นไม้, การเล่นเกมกับเพื่อน

สิ่งที่แบรนด์ควรรู้จากเทรนด์นี้ คือ

  1. มอบความสนุกแบบเฉพาะบุคคล
  2. ตลกอย่างมีสไตล์
  3. ให้การแชร์ความสุขเป็นเรื่องง่าย

ความแน่นอนในอนาคต

พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย

ผู้คนมองหาช่องทางที่จะเพิ่มทักษะด้านต่าง ๆ หรือสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองในอนาคต อย่างเช่น การค้นหาเรื่องเรียนออนไลน์ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 6 เท่า การค้นหาเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัลเพิ่มขึ้น 50% การนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจเพิ่มขึ้น 35% การขายของออนไลน์ 32% แถมยังมีการหาความรู้ด้านการเงินมากขึ้น โดยเฉพาะหุ้น ที่กำลังมาแรงเป็นอย่างมาก

ไม่ใช่แค่เรื่องการเงิน แต่สุขภาพก็สำคัญ การจัดการสุขภาพเชิงรุกและเชิงป้องกัน เวลาในการรับชมวิดีโอออกกำลังกาย เพิ่มขึ้น 80% การค้นหาวิตามิน

สิ่งที่แบรนด์ควรรู้จากเทรนด์นี้ คือ

  1. สื่อสารสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า แต่ต้องไม่มากเกินไป
  2. สร้างสรรค์เพื่อลดความเสี่ยงให้ผู้บริโภค
  3. ช่วยให้ลูกค้านำข้อมูลไปใช้ได้ง่ายขึ้น
  4. มองหาวิธีสนับสนุนพาร์ทเนอร์ในระยะยาวสำหรับ B2B
  5. บทบาทของแบรนด์ในการเพิ่มทักษะให้กับผู้คน

ในท้ายที่สุดแล้ว ธุรกิจที่ปรับตัวได้เร็วตามพฤติกรรมของผู้บริโภค มีการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับทุกสถานการณ์และสามารถคว้าทุกโอกาสที่เข้ามาได้ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ แม้จะเกิดสถานการณ์เช่นนี้อีกครั้งในอนาคต

 

ที่มา : [1]

Recommended Posts